ผลสำรวจทั่วโลกเผย ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19

Last updated: 30 พ.ย. 2566  | 

เชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลกตั้งแต่ปลายปี 2562 ทำให้ตอนนี้มียอดผู้ป่วยโรคโควิด-19 ทั่วโลกมากกว่า 2,248,037 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตทั่วโลกมากกว่า 154,126 ราย  ถึงแม้ในประเทศไทยจะมีผู้เสียชีวิตน้อยกว่าแถบทวีปยุโรปก็ตาม แต่สถานการณ์ในปัจจุบันยังคงน่าเป็นห่วง ซึ่งผลสำรวจของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และเมื่อเปรียบเทียบกับคนหนุ่มสาว หรือคนที่มีสุขภาพดีแล้ว พบว่าอัตราการเสียชีวิตส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เนื่องจากระบบภูมิต้านทานโรคในร่างกายต่ำ หรือทำงานไม่ปกติ และตอนนี้ยังไม่มียารักษาโรคโควิด-19 โดยตรง การป้องกันการติดเชื้อที่ดีที่สุด คือต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ เมื่อเรามีร่างกายที่แข็งแรง มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ก็เปรียบเหมือนมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายที่ดีที่สุด

 

กฤตนัย มณีนวล แพทย์แผนไทย และกรรมการผู้จัดการบริษัท เนเจอร์ เฮิร์บ อินเตอร์ เนชั่นแนล โฮลดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า จากข้อมูลผลสำรวจทั่วโลก พบว่าผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่กว่า 80%  มีอาการไม่รุนแรง เหมือนเป็นไข้หวัดธรรมดา ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ และมีเสมหะ บ้างก็หายได้เองเพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง,  7-15% จะเริ่มมีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย ส่วนอีก 9% จะมีอาการปอดอักเสบอย่างรุนแรง และมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 4%  โดยกลุ่มเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหอบหืด รวมไปถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน กลุ่มคนเหล่านี้จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสมากที่สุด อีกทั้งปัจจุบันโรคโควิด-19 ยังไม่มียารักษาโดยตรง แพทย์จึงทำได้เพียงรักษาตามอาการ หรือการใช้ยารักษาโรคติดเชื้อเอชไอวี โรคไข้หวัดใหญ่ โรคมาลาเรียร่วมด้วย แต่ก็มีอีกหนึ่งวิธีที่สามารถทำได้ คือ การนําพลาสมาจากผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายเป็นปกติแล้ว นำไปใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เนื่องจากผู้ป่วยที่หายดีแล้วจะมีภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นมา ซึ่งสามารถต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างจำเพาะ จึงทำให้ตอนนี้หน่วยงานทางการแพทย์ได้ออกมาขอรับบริจาคพลาสมาจากผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายเป็นปกติแล้ว โดยการบริจาคผ่านเครื่องแยกส่วนประกอบโลหิตอัตโนมัติ คัดแยกเอาเฉพาะพลาสมาออกมาจากเลือด แล้วนำส่วนที่เป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดคืนกลับคืนผู้บริจาค ใช้เวลาประมาณ 45 นาที บริจาคได้ครั้งละ 500 ซีซี นอกจากนี้ถึงแม้ปัจจุบันจะมีแนวทางในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 มากมาย เช่น การใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ 70% กินอาหารปรุงสุก การเว้นระยะห่างทางสังคม รวมไปถึงการร่วมกันอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ หรือ work at home ก็ยังคงมีผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตจากโรคนี้อยู่อย่างต่อเนื่อง จึงเห็นได้ว่าการป้องกันตัวเองแค่ภายนอกคงไม่พออีกต่อไป ต้องหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพอย่างจริงจังเพิ่มมากขึ้น การดูแลสุขภาพจากภายในถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ต้องสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา เพราะหากเรามีสุขภาพที่แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค ก็เปรียบเสมือนเรามีเกราะป้องกันเชื้อไวรัสนั่นเอง

 

สำหรับการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ต้องยกให้เป็นเรื่องสรรพคุณที่หลากหลายของสมุนไพร เพราะมาจากธรรมชาติ ไม่มีสารตกค้าง และปลอดภัยต่อร่างกาย ซึ่งสมุนไพรของบ้านเราล้วนแต่มีประโยชน์ในการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงมากมาย เช่น สารสกัดจากข้าว เพราะมีแกมม่าโอไรซานอล ที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โทโคเฟอรอล และโทโคไตรอินอล ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมกับฤทธิ์ของแกมม่าโอไรซานอลได้อีกด้วย รวมถึงผลไม้ใกล้ตัวหาทานได้ง่าย และไม่ควรมองข้ามก็คือ มะละกอ และสับปะรด เพราะมีเบต้าแคโรทีน ที่ร่างกายมนุษย์สามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนที่ได้จากมะละกอสุก และสับปะรด เป็นวิตามินเอ และวิตามินซี เมื่อร่างกายได้รับวิตามินทั้งสองชนิดนี้ ก็จะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านไวรัส และแบคทีเรีย รวมถึงยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้