“The New Isuzu MU-X” พาแอ่วดอยตุง ท่องเที่ยวในเชียงราย

Last updated: 30 พ.ย. 2566  | 

อีซูซุชวนสื่อมวลชนร่วมกิจกรรม “The New Isuzu MU-X Press Trip” การเดินทางครั้งแรกหลังจากเปิดตัวสู่ตลาดเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ร่วมสัมผัสประสบการณ์เหนือชั้นของรถยนต์อเนกประสงค์สุดหรูที่ปรับโฉมใหม่ จัดเต็มทั้งภายนอกและภายใน เน้นความหรู งามสง่า ภายใต้นิยาม Signature of Privilege ที่มาพร้อมกับดีไซน์อันน่าหลงใหล และสมรรถนะน่าประทับใจ กับสถานที่ท่องเที่ยวที่งดงามในจังหวัดเชียงราย



หลังจากการเปิดตัว “The New Isuzu MU-X” ไปเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา  อีซูซุจึงได้เชิญสื่อมวลชนร่วมขับรถ “The New Isuzu MU-X”  พาทุกท่านเหินฟ้าจากกรุงเทพฯ ไปตั้งต้นการเดินทางที่จังหวัดเชียงราย แอ่วดอยตุง เป็นการขับรถท่องเที่ยวไปพร้อมๆ กับสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ภายใต้นิยาม Signature of Privilege เอกลักษณ์แห่งเอกสิทธิ์ของรถอเนกประสงค์สุดหรู “The New Isuzu MU-X” ที่มีการปรับโฉมครั้งใหญ่ โดดเด่นยิ่งขึ้น ด้วยสไตล์สปอร์ตหรู โฉบเฉี่ยว ทันสมัย อาทิ  กระจังหน้าดีไซน์ใหม่ แบบ Sport 3D  ไฟหน้าดีไซน์ใหม่ แบบ   Bi-LED  ปรับระดับสูง-ต่ำอัตโนมัติ  พร้อมไฟ Daylight อยู่ในโคมเดียวกัน โดดเด่นด้วยเส้นนำแสง LED Guiding Light เพิ่มลุคโฉบเฉี่ยวทันสมัยแบบรถยนต์นั่งระดับหรู กันชนหน้า – หลังดีไซน์ใหม่เสริมลุคสปอร์ตให้ทันสมัยยิ่งขึ้น พร้อมไฟท้าย LED ดีไซน์ใหม่ แบบ Sharp Horizon เข้ากันได้ดีกับบรรยากาศในห้องโดยสารใหม่สีทูโทน Sandstone Beige เบาะนั่งดีไซน์ใหม่ Sport Cut ที่โอบกระชับรับกับสรีระได้ดี  ลายไม้ Fine Walnut ที่แผงข้างประตู หัวเกียร์ และคอนโซลหน้าเสริมลุคให้ดูหรูหรายิ่งขึ้น  ที่สำคัญยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ในแบบฉบับอีซูซุ นั่นคือ สมรรถนะของขุมพลังเครื่องยนต์อีซูซุ 1.9 และ 3.0 ดีดีไอ บลูเพาเวอร์  ที่ไม่ว่าจะขับขึ้นเขา ลงเขา หรือจะโค้งหักศอก ก็ให้การตอบสนองการขับขี่ที่ดี เน้นความประหยัดน้ำมัน และรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมช่วงล่างที่นุ่มนวล       ให้ทรงตัวดีเยี่ยม รวมถึงเทคโนโลยีและฟังก์ชั่นต่างๆ ที่ตอบสนองการใช้ชีวิตยุคใหม่ให้ผู้ใช้รถได้สูงสุดในทุกด้าน



ขบวนคาราวาน “The New Isuzu MU-X” โลดแล่นผ่านเมือง เพื่อไปแวะเติมพลัง    ณ ร้านแฮซซิเอนด้า คอฟฟี่เฮ้าส์ ที่ถูกออกแบบในสไตล์ยุโรป ภายในร้านตกแต่งด้วยตุ๊กตาเซรามิคน่ารักอย่างลงตัว พร้อมเสิร์ฟอาหารฟิวชั่นรสชาติกลมกล่อม ที่ทางร้านคัดวัตถุดิบมาอย่างพิถีพิถันให้ทุกคนได้อิ่มอร่อย หลังจากรับประทานอาหารกลางวันเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงออกเดินทางต่อด้วย “The New Isuzu MU-X” คันเดิม ผ่านถนนคดเคี้ยวบนยอดดอยสูงได้สักระยะ 

จุดท่องเที่ยวแรกที่พลาดไม่ได้  “โครงการพัฒนาดอยตุง” ที่เกิดขึ้นตามพระราชปณิธาน และพระราชกระแสรับสั่งว่า "ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง"  ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ สมเด็จย่าของชาวไทย  จนสามารถปรับเปลี่ยนป่าเสื่อมโทรมจากการบุกรุกทำลายป่า และปลูกฝิ่นให้กลายเป็นพื้นที่ป่าไม้แห่งต้นน้ำลำธารที่อุดมสมบูรณ์  โดยมี “พระตำหนักดอยตุง” ที่ประทับของพระองค์ท่านที่งดงาม ในสไตล์สวิสเซอร์แลนด์ ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมล้านนาเป็นแลนด์มาร์คสำคัญ  อีกทั้งยังมี “สวนแม่ฟ้าหลวง” สวนไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวขนาด 30 ไร่ บริเวณลานหน้าพระตำหนัก ที่ทำให้คนไทยที่ไม่มีโอกาสไปต่างประเทศได้เห็นไม้ดอกเมืองหนาวนานาชนิด  นอกจากนี้สื่อมวลชนยังได้สัมผัสประสบการณ์อันแปลกใหม่ กับ “Doitung Tree Top Walk” กิจกรรมใหม่ภายในสวนแม่ฟ้าหลวงด้วยทางเดินเรือนยอดไม้ยาว 300 เมตร และสูงกว่า 30 เมตรจากพื้นดิน  จนได้สัมผัสความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าอันร่มรื่น บนสะพานสลิงที่ยึดโยงกับต้นไม้ใหญ่ ที่แกว่งไกวไปมาพอให้ตื่นเต้นขณะเดินผ่าน แต่มีความปลอดภัยสูงด้วยสลิงที่ติดอยู่กับตัวซึ่งรองรับน้ำหนักได้ 1.2 ตัน  สร้างความประทับใจมิรู้ลืม




หลังจากนั้นได้ออกเดินทางต่อเพื่อชมอาทิตย์อัสดง ณ ดอยช้างมูบ ซึ่งห่างจากสวนแม่ฟ้าหลวง ประมาณ 7 กิโลเมตร ซึ่งดอยช้างมูบนั้น เป็นดอยที่สูงที่สุดบนแนวเทือกเขาดอยนางนอน มีความสูง 1,485 เมตรจากระดับน้ำทะเล บนแนวสันเขาแบ่งเขตแดนไทย-พม่า ซึ่งเป็นจุดชมความงามของทะเลหมอก และพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม   หลังจากนั้นจึงเข้าพัก ณ ดอยตุง ลอด์จ ซึ่งเดิมเป็นสำนักงานและที่พักของหน่วยอนุรักษ์ต้นน้ำที่ 31 กรมป่าไม้ และเป็นบ้านพักสำหรับขบวนเสด็จ และพนักงานของโครงการพัฒนาดอยตุง ปัจจุบันเปิดเป็นที่พักให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสมาค้างคืนบนดอยตุง และนำรายได้ไปดูแลรักษาห้องพักและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ  ดอยตุง ลอด์จ จึงเป็นแหล่งสร้างงานอีกแห่งหนึ่ง และช่วยให้คนในพื้นที่ได้เรียนรู้วิชาชีพด้านการโรงแรม  มีรายได้ที่ดีและมั่นคง ไม่ต้องทิ้งถิ่นฐานไปหางานทำในถิ่นอื่น ณ ดอยตุง ลอดจ์ แห่งนี้ ทำให้พวกเราได้อิ่มเอม และเติมเต็มความรู้สึกดีๆ ไปกับบรรยากาศที่แนบชิดกับธรรมชาติ อากาศเย็นสบาย แม้จะย่างเข้าสู่ฤดูร้อนในเดือนเมษายน




เช้าวันรุ่งขึ้น ได้เดินทางไปเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์บ้านดำ ซึ่งสร้างขึ้นโดย อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ลักษณะของบ้านดำแห่งนี้ จะเป็นกลุ่มบ้านที่เป็นศิลปะแบบล้านนา โดยทุกหลังทาด้วยสีดำ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “บ้านดำ” ภายในบ้านแต่ละหลังนั้นถูกประดับด้วยไม้แกะสลักที่มีลวดลายงดงาม นอกจากไม้แกะสลักแล้วยังประดับด้วยเขาสัตว์ และกระดูกสัตว์ ถึงแม้ในวันนี้ อาจารย์ถวัลย์ จะถึงแก่อนิจกรรมไปแล้ว แต่บ้านดำ ก็ยังเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสความงดงาม


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้