เชฟโรเลตนำเทคโนโลยีเสมือนจริงออกแบบเพิ่มพื้นที่ในเอสยูวี

Last updated: 30 พ.ย. 2566  | 

ทีมนักออกแบบรถยนต์ของเชฟโรเลตนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการออกแบบภายในรถยนต์ของเชฟโรเลต อาทิ เครื่องจำลองแบบเสมือนจริง (VR) แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ที่ล้ำสมัย และเครื่องพิมพ์สามมิติ เพื่อเพิ่มพื้นที่ในห้องโดยสารและพื้นที่จัดเก็บสัมภาระในรถยนต์อเนกประสงค์หรือเอสยูวี



จากความจำเป็นที่ต้องการจะยกระดับการออกแบบยนตรกรรมระดับโลก การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูงนั้นจึงทวีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางตลาดรถยนต์อเนกประสงค์หรือเอสยูวีที่มีการแข่งขันสูง เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่จะนิยมเลือกรถเอสยูวี ด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่ ความอเนกประสงค์ของที่นั่งที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 7 ที่นั่ง และยังมีพื้นที่ในการเก็บสัมภาระที่เพิ่มขึ้น  รวมถึงเหตุผลอื่นๆ ในการเลือกซื้อรถยนต์อเนกประสงค์หรือเอสยูวี



เชฟโรเลตได้นำเสนอ “เทรลเบลเซอร์” รถเอสยูวี ระดับพรีเมี่ยมสไตล์อเมริกัน ยนตรกรรมที่ได้รับการพัฒนาในระดับโลกเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เนื่องจากแนวโน้มความต้องการใช้งานรถยนต์ของลูกค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่นิยมใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไปสู่การใช้รถเอสยูวีมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์ทั่วโลก ที่พบว่ายอดขายรถยนต์อเนกประสงค์หรือเอสยูวีมีเพิ่มขึ้นมากกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ปี 2554 ขณะที่ยอดขายรถยนต์นั่งลดลง 4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน



ทิม เกรก ผู้จัดการฝ่ายออกแบบตกแต่งภายในของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) เปิดเผยว่า เราได้มีการออกแบบภายในห้องโดยสาร ในส่วนของช่องเก็บของในบริเวณที่นั่งทั้งหมดเพื่อให้ลูกค้าสามารถนำสัมภาระติดตัวไปได้อย่างสะดวกสบาย เช่น เครื่องดื่ม โทรศัพท์มือถือ     แท็บเล็ต กระเป๋า และของเล่นที่เด็กๆ สามารถพกติดตัวไปได้ง่าย นอกจากนี้ เรายังออกแบบพื้นที่จัดเก็บสัมภาระให้มีขนาดกว้างขวางที่สุด ซึ่งสามารถเปิดได้จากทั้งด้านข้างและด้านบน รวมถึงมีการออกแบบพื้นสำหรับเลื่อนสิ่งของเข้าออกภายในรถได้อย่างสะดวกสบาย ขณะที่รถเอสยูวี มีข้อได้เปรียบที่ดีกว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลอย่างเห็นได้ชัด ในเรื่องของการบรรทุกสัมภาระต่างๆ ที่มีขนาดยาวหรือสูง อาทิ เฟอร์นิเจอร์ กล่องขนาดใหญ่ จักรยาน ซึ่งผู้ใช้    เทรลเบลเซอร์ รถเอสยูวีระดับพรีเมี่ยมสามารถบรรทุกสิ่งของอื่นๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าเดินทางหลายๆ ใบ อุปกรณ์ตั้งแคมป์ หรืออุปกรณ์กีฬา ด้วยขนาดของพื้นที่บรรทุกสัมภาระด้านหลังของรถยนต์   เทรลเบลเซอร์ที่กว้างขวางและเปิดได้กว้าง ทำให้สามารถเก็บและบรรทุกสัมภาระต่างๆ ได้มากขึ้น ประหยัดเวลาในการจัดสิ่งของให้เข้าที่ ซึ่งเปรียบเหมือนการเล่น “เกมส์ตัวต่อเตอติส (Tetris challenge)”  ที่ใช้เวลาน้อยกว่าในรถยนต์หรือรถที่ขนาดเล็กกว่า



ในระหว่างการดำเนินงานในส่วนการออกแบบดังกล่าว ทีมออกแบบรถยนต์ของเชฟโรเลตได้ใช้เครื่องมือดิจิทัล เข้ามาช่วยสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบภายในกับโครงสร้างให้มีความลงตัวมากที่สุด   โดยมีการนำส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปจากห้องโดยสาร เพื่อให้นักออกแบบสามารถใส่ช่องเก็บสัมภาระและลูกเล่นต่างๆได้มากขึ้น โดยทั้งหมดนี้ได้ถูกดำเนินการมาตั้งแต่การเริ่มออกแบบรถยนต์แล้ว ซึ่งทุกกระบวนการค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร จนมั่นใจและกลายมาเป็นแนวคิดของการออกแบบภายในที่ลงตัว อย่างในปัจจุบัน หลังจากที่มีการออกแบบภายในรถยนต์เพิ่ม และสร้างภาพดิจิทัลขึ้นมาแล้ว ทีมนักออกแบบรถยนต์ของเชฟโรเลตจะใช้เครื่องกัดและเครื่องพิมพ์สามมิติ เพื่อขึ้นรูปและสร้างชิ้นส่วนต้นแบบก่อนจะนำมาสร้างเป็น "ที่นั่ง” (seating bucks) เสมือนจริงที่ทำจากไม้และโฟม จากนั้นจะทำการประเมินโดยรวม และจึงทำแบบจำลองดินเหนียวเพื่อประเมินแนวคิดของการออกแบบในที่สุด


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้